#”buy insurance like buying stocks”#

#”ซื้อประกันภัย เหมือนซื้อหุ้น”#

 

“ประกันภัยรถยนต์”         “ประกันอุบัติเหตุและสุขภาพ”        “ประกันอัคคีภัยและทรัพย์สิน”      “ประกันภัยการเดินทาง”          “ประกันภัยสำหรับภาคธุรกิจ”

 

ประเภทของประกันรถยนต์                                                                             

ประเภทของประกันที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ ถูกจัดให้เป็นสากลทั่วโลก โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ ประกันรถยนต์แบบบังคับ และ แบบสมัครใจ โดยมีความแตกต่างกัน

ประกันรถยนต์ภาคบังคับ (Compulsory Motor Insurance)

คนไทยรู้จักกันในชื่อย่อคือ ประกันภัย พ.ร.บ. โดยที่รถยนต์ทุกคันจะต้องทำประกันนี้ โดยเป็นแบบบังคับ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 โดยประกันภัยตัวนี้จะให้ความคุ้มครองพื้นฐานและรับผิดชอบต่อความสูญเสีย ต่อชีวิต ร่างกาย ของผู้ประสบภัยจากรถยนต์ หากเกิดอุบัติเหตุขณะใช้ยานพาหนะ พ.ร.บ. ก็จะคุ้มครองในส่วนค่ารักษาพยาบาลทั้งคนขับ ผู้โดยสาร และคู่กรณี

สำหรับค่าใช้จ่ายของประกัน พ.รบ. ถูกแบ่งออกเป็น 12 ประเภทราคา สำหรับรถที่ขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องยนต์ [4]ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ (Voluntary Motor Insurance)

ประกันรถยนต์แบบสมัครใจ ถูกแบ่งออกเป็น 5 ประเภท หลัก

  1. ประกันรถยนต์ ประเภท 1
  2. ประกันรถยนต์ ประเภท 2
  3. ประกันรถยนต์ ประเภท 3
  4. ประกันรถยนต์ ประเภท 4 (กรมธรรม์คุ้มครองต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก)
  5. ประกันรถยนต์ ประเภท 5 (ประกันรถยนต์คุ้มครองภัยเฉพาะ) มีอีกชื่อหนึ่งว่า 2 พลัส และ 3 พลัส การประกันชีวิตมีกี่แบบ

ประกันชีวิตนั้นมีการพัฒนารูปแบบความคุ้มครองที่หลากหลาย เพื่อตอบสนองความต้องการทางการเงินที่แตกต่างกันไป แต่หากแบ่งตามหมวดหลักๆ ของรูปแบบประกันชีวิตสัญญาหลักแล้วจะมีรูปแบบดังนี้

1. ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ (Whole Life Insurance)

เป็นความคุ้มครองชีวิตระยะยาว เช่น คุ้มครองผู้เอาประกันจนถึงอายุ 90 ปี หรือมากกว่านั้น โดยบริษัทประกันจะมอบเงินครบกำหนดสัญญาให้หากผู้เอาประกันยังมีชีวิตอยู่จนครบสัญญา หรือหากผู้เอาประกันเสียชีวิตในระหว่างสัญญาบริษัทประกันจะจ่าย “เงินเอาประกันภัย” ให้แก่ผู้รับประโยชน์ ซึ่งส่วนมากก็จะเป็นคนในครอบครัว เช่น บุตร คู่สมรส หรือบิดามารดา เป็นต้น

2. ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ (Endowment Insurance)

เป็นแบบประกันที่มุ่งเน้นให้ผลตอบแทนในระหว่างสัญญาหรือเมื่อครบกำหนดสัญญา พร้อมทั้งให้ความคุ้มครองชีวิตด้วยเช่นกัน โดยมากระยะเวลาความคุ้มครองจะไม่ยาวนัก เช่น 5 ปี 10 ปี 20 ปี แต่ก็มีที่คุ้มครองจนครบอายุ 60 ปี โดยผลตอบแทนที่จ่ายคืนผู้เอาประกันภัย ในกรณีมีชีวิตอยู่ มักจะมีกำหนดไว้ชัดเจนว่าจะจ่ายเมื่อครบปีกรมธรรม์ที่เท่าไหร่บ้าง ซึ่งจะมีทั้งที่ “กำหนดจำนวนเงินที่แน่นอน” หรืออยู่ในลักษณะ “เงินปันผล” ที่จะแปรผันไปตามผลการลงทุนของบริษัทในขณะนั้น

3. ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา (Term Insurance)

แบบประกันที่ให้ความคุ้มครองชีวิต โดยบริษัทจะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้กับผู้รับผลประโยชน์ ก็ต่อเมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิตเท่านั้น จะไม่จ่ายให้เมื่อผู้เอาประกันอยู่จนครบกำหนดสัญญา เป็นแบบประกันชีวิตที่มีค่าเบี้ยประกัน “ต่ำที่สุด” เมื่อเปรียบเทียบกับความคุ้มครองชีวิตที่ได้รับ มีระยะเวลาความคุ้มครองกำหนดไว้แน่นอน เช่น 5 ปี 10 ปี ฯลฯ มักจะทำไว้เพื่อเน้นความคุ้มครองชีวิต สร้างความอุ่นใจให้กับคนที่รัก รวมถึงเป็นการสร้างหลักประกันให้กับครอบครัว

4. ประกันชีวิตแบบบำนาญ (Annuity Insurance)

เพื่อเป็นการคุ้มครองรายได้หลังเกษียณเป็นหลัก โดยบริษัทประกันชีวิตจะเริ่มจ่ายเงินคืนตามกรมธรรม์ให้ตั้งแต่เมื่อครบอายุ 55 ปี หรือ 60 ปี และจะมีการจ่ายต่อเนื่องเป็นงวดๆ ในช่วงหลังวัยเกษียณตามสัญญาไปจนกว่าจะครบกำหนด เช่นจ่ายเงินบำนาญเริ่มตั้งแต่อายุครบ 55 ปี ไปจนถึง 90 ปี เพื่อเป็นแหล่งรายได้หลังเกษียณที่แน่นอน เพราะการมีชีวิตอยู่ยาวนานโดยไม่มีรายได้เพียงพอก็นับเป็นความเสี่ยงเช่นกัน

5. ประกันชีวิตควบการลงทุน (Universal life and Unit-linked Insurance)

รูปแบบประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองชีวิต และเปิดโอกาสให้ผู้เอาประกันเลือกที่จะรับผลตอบแทนจากการทำประกันที่มากขึ้น โดยการนำเบี้ยประกันที่จ่ายไปลงทุนในกองทุนรวมเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น

ประกันชีวิตแบบ Universal life: ผู้เอาประกันสามารถเปลี่ยนแปลงจำนวนเงินคุ้มครองชีวิต และจำนวนเงินส่วนที่นำไปลงทุนได้ แต่ไม่สามารถเลือกแผนการลงทุนเองได้ ซึ่งบริษัทประกันจะรับรองผลตอบแทนขั้นต่ำไว้ให้ แต่หากผลการลงทุนได้สูงกว่าที่รับรอง ผู้เอาประกันก็จะได้รับมากขึ้นด้วยเช่นกัน

ประกันชีวิตแบบ Unit-linked: นอกจากความคุ้มครองชีวิตแล้ว ผู้เอาประกันสามารถเลือกลงทุนในกองทุนรวมต่างๆ ได้ตามที่บริษัทได้กำหนด โดยบริษัทประกันจะไม่รับรองผลตอบแทนขั้นต่ำให้ ดังนั้นผู้เอาประกันจะเป็นผู้รับความเสี่ยงจากการลงทุนผ่านกองทุนรวมไว้เอง แต่ก็มีโอกาสรับผลตอบแทนที่สูงขึ้นเช่นกัน

ประเภทของประกันชีวิตมีหลากหลายแบบ ดังนั้นควรทำความเข้าใจ และเลือกแบบประกันที่เหมาะสมกับคุณมากที่สุด เพื่อได้รับความคุ้มครองที่คุ้มค่า หรือศึกษาเพิ่มเติม ประกันชีวิตแต่ละแบบเหมาะกับใคร?